“ชาวไทยใหม่” คนภูเก็ตเรียกว่า “ชาวไทยใหม่และชาวเล” การที่ชาวเลมีชีวิตเร่ร่อนพเนจรไปในท้องทะเลจึงได้รับสมญานามว่า SEA GYPSY อีกชื่อหนึ่ง ชาวเลจัดเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของประเทศไทยที่ดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างเหนียวแน่น การสืบทอดความ เชื่อ ความศรัทธาและเรื่องราวเกี่ยวกับบรรพบุรุษให้ลูกหลานได้รับรู้มักใช้นิทานหรือ ตำนานเป็นสื่อ โดยเล่าจากปากต่อปากเพราะ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของชาวเลโดยทั่ว ๆ ไป ในครอบครัว หนึ่ง ๆ จะมีบิดา มารดา บุตร และตายาย ส่วนมากเมื่อแต่งงานแล้วจะแยกครอบครัว ออกไป ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีใครอยู่กับพ่อแม่ การแยกครอบครัวจะแยกออกไปตั้งบ้าน เรือนอยู่ใกล้ ๆ กันในบริเวณชุมชนนั่นเอง เนื่องจากลักษณะบ้านของชาวเลเป็นบ้านที่ มีขนาดเล็กไม่สามารถอยู่รวมกันได้หลายคน ในครอบครัวของชาวเลผู้ชายจะเป็นผู้ทำ หน้าที่ออกไปทำงาน ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่ดูแลบ้าน แต่ในภาวะปัจจุบันผู้หญิงต้องมีส่วน ช่วยเหลือครอบครัวด้วยการช่วยทำงานหาเงินอาจจะเนื่องมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอพยพเร่ร่อนมาจากดินแดนแถบมลายู และภาษาชาวเลเป็นภาษาพูดสังกัด กลุ่มภาษามาลาโยโปลินิเซียน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นเกี่ยวข้องกับภาษามลายู จึงมีสำเนียงภาษาคล้ายมลายูและอินโดนีเซีย ซึ่งภาษานี้มีพวก ชวา บาหลี มาดูรีส มักกะสัน บูกัส ตามเกาะต่าง ๆ พูดกันมาก คำบางคำคล้ายภาษา มลายู บางคำเป็นภาษาอินโดนีเซีย เป็นคำพูดที่สร้างขึ้นมาเอง มีคำศัพท์น้อย คำที่ใช้ พูดกันก็เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันและอาชีพการงานชาวเลประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทะเล เช่น ตกเบ็ด วางลอบ ออกอวน ดำน้ำหาหอย กุ้ง ปลา ปู และรับจ้างเจ้าของกิจการที่มีเรืออวน ออกอวน และดำหาของ ทะเล เช่น ปะการัง กัลปังหา เปลือกหอย และปลาสวยงาม ผู้ชายชาวเลมีความสามารถในการดำน้ำ และต่อเรือ ส่วนผู้หญิงและเด็กจะมีความชำนาญในการตกเบ็ด และหาหอย // ที่มา : http://amazingthesea.wordpress.com/วัฒนธรรมประเพณี/ประเพณีลอยเรือชาวเลภูเ/